Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

เพิ่มการเข้าถึงทั่วโลกด้วย VIRTUAL EVENT

สรุปสาระสำคัญ

Virtual event เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมของงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้นจริงแล้วย้ายขึ้นมาอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งมันอาจเป็นส่วนขยายของอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นจริงหรือจัดขึ้นเป็นแบบอีเว้นท์เดี่ยวๆ ก็ได้ Virtual event ถูกพัฒนามาจากรูปแบบไลฟ์สตรีมที่เรียบง่ายสู่รูปแบบการสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ โดย Virtual event เหมาะทั้งการจัดงานขนาดใหญ่ที่มีผู้ร่วมงานจากหลายๆ ประเทศ หรืองานขนาดเล็กที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่จริงในการจัดงาน ซึ่งประโยชน์หลักของ Virtual event คือ เพิ่มการเข้าถึงของผู้เข้าร่วมงานและการสัมผัสประสบการณ์ของงานได้อย่างใกล้ชิด แต่ก็มีข้อเสียบางเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณา ได้แก่ การขาดการสื่อสารแบบตัวต่อตัวและสิ่งรบกวนที่ดึงความสนใจออกจากงานอีเว้นท์ อย่างไรก็ตามการใช้งาน Virtual event เพื่อเป็นส่วนขยายของงานที่ถูกจัดขึ้นบนโลกจริง จะช่วยชดเชยข้อเสียเปรียบของแต่ละแบบและทำให้เกิดงานอีเว้นท์ที่เหมาะสมให้แก่ทุกคน ยกตัวอย่างเช่น งานประชุม South by Southwest (SXSW) ได้ใช้ประโยชน์จากไลฟ์สตรีม (Live streaming) เพื่อเชื่อมโยงสถานที่จัดงานหลายๆ แห่งเข้าด้วยกัน และถ่ายทอดงานอีเว้นท์ให้กับผู้คนทั่วโลกได้รับชม

ประเด็นสำคัญต่ออุตสาหกรรมไมซ์

  • Virtual event เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมของงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้นจริง ซึ่งผู้เข้าร่วมงานสามารถมีส่วนร่วมผ่านช่องทางออนไลน์ได้จากทุกแห่งบนโลก และสามารถสัมผัสกับเนื้อหาแบบเดียวกับงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้นในโลกแห่งความจริง
  • ไลฟ์คอนเทนท์ (Live content) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับสอง คือ การพูดบรรยายและการประชุม เสมอกับงานคอนเสิร์ตและเทศกาลต่างๆ โดยสัดส่วนการรับชมอยู่ที่ร้อยละ 43 ของไลฟ์คอนเทนท์ทั้งหมด จากข้อมูลของ Livestream ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการไลฟ์สตรีม
  • Digitell บริษัทผู้ให้บริการด้านการบันทึกการประชุม ได้คำนวณและประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดงานประชุมที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 300 คนในระยะเวลา 3 วัน สำหรับการประชุมแบบปกติที่ต้องไปร่วมงานด้วยตัวบุคคลจะมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 210,600 เหรียญสหรัฐ แต่ในทางกลับกันการประชุมที่มีเนื้อหาเดียวกันสามารถจัดขึ้นในโลกเสมือนจริงมีค่าใช้จ่ายเพียง 20,000 เหรียญสหรัฐถึง 40,000 เหรียญสหรัฐขึ้นอยู่กับจำนวนกิจกรรมย่อยในงาน
  • จากข้อมูลของ Techjury เว็บไซต์ที่ให้คำแนะนำทางด้านเทคโนโลยี ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้ชมกว่าร้อยละ 67 ที่ได้ดูการไลฟ์สตรีมนั้นมีแนวโน้มที่จะซื้อตั๋วเพื่อไปเข้าร่วมงานที่มีลักษณะหรือเนื้อหาที่คล้ายๆ กันในอนาคต

ลักษณะของVirtual event

การมาถึงของ Virtual event

การจัดงานอีเว้นท์และงานประชุมนั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีความสำคัญสำหรับภาคธุรกิจเนื่องจากเป็นการนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจที่ความหลากหลาย อย่างเช่น การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับพันธมิตรใหม่ๆ สร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ให้มีมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมต่อกับคู่ค้าทางธุรกิจของตน ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตทางธุรกิจต่อไป ในปัจจุบันเป็นเรื่องยากสำหรับงานอีเว้นท์ที่จะทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจทุกฝ่ายมาเข้าร่วมงานด้วยตนเอง และพบปะกันในสถานที่จริง เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารทำให้เกิดการพัฒนาอีเว้นท์ขึ้นในอีกหนึ่งรูปแบบที่เรียกว่า Virtual event คือ การจำลองสภาพแวดล้อมของงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้นจริง ซึ่งผู้เข้าร่วมงานสามารถมีส่วนร่วมผ่านการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้จากทุกแห่งบนโลก Virtual event นั้นสามารถจัดขึ้นเป็นส่วนขยายของอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นจริงหรือจัดเป็นอีเว้นท์เดี่ยวๆ ก็ได้ โดยมีแพลตฟอร์มยอดนิยมและเป็นที่รู้จักมากมายสำหรับการจัด Virtual event ตัวอย่างเช่น การใช้ Facebook หรือ YouTube

สำหรับไลฟ์สตรีม การใช้ WebinarJam หรือ Zoom สำหรับสัมมนาออนไลน์ และการใช้ vFairs หรือ Connex สำหรับจัดงานอีเว้นท์บนโลกเสมือนจริง ดังนั้นทุกประเภทของงานอีเว้นท์สามารถจัดงานแบบ Virtual event ได้ แต่ว่าอีเว้นท์ออนไลน์ที่เป็นที่นิยมส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับตลาดการหางาน งานประชุม การประชุมสมาชิก งานแสดงสินค้า และการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ จากข้อมูลของทาง iVent บริษัทผู้ให้บริการ Virtual event

ประโยชน์หลักคือการเข้าถึง

การจัดงานแบบ Virtual event นั้นนำมาซึ่งประโยชน์ที่หลากหลายให้กับทั้งผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงาน สำหรับฝั่งของผู้จัดงานนั้น Virtual event สามารถเพิ่มการเข้าถึงต่องานอีเว้นท์และอาจสร้างผู้เข้าร่วมงานหน้าใหม่ในงานอีเว้นท์ครั้งถัดๆ ไป จากข้อมูลของ Techjury เว็บไซต์ที่ให้คำแนะนำทางด้านเทคโนโลยี ได้ให้ข้อมูลว่าผู้ชมกว่าร้อยละ 67 ที่ได้ดูการไลฟ์สตรีมนั้นมีแนวโน้มที่จะซื้อตั๋วเพื่อไปเข้าร่วมงานที่มีลักษณะหรือเนื้อหาที่คล้ายๆ กันในอนาคต นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการจัด Virtual event นั้นถือได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดงานอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่จริง ตัวอย่างเช่น หากจัดงานการประชุมโดยมีผู้เข้าร่วม 300 คน เป็นระยะเวลา 3 วัน สำหรับการประชุมแบบปกติที่ต้องไปร่วมงานด้วยตัวบุคคลจะมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 210,600 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่การประชุมที่มีเนื้อหาเดียวกันสามารถจัดขึ้นในโลกเสมือนจริงมีค่าใช้จ่ายเพียง 20,000 เหรียญสหรัฐถึง 40,000 เหรียญสหรัฐขึ้นอยู่กับจำนวนกิจกรรมย่อยในงาน

ตามที่ Digitell บริษัทผู้ให้บริการด้านการบันทึกการประชุมได้คำนวณค่าใช้จ่ายไว้สำหรับฝั่งของผู้เข้าร่วมงานนั้น Virtual event มีความยืดหยุ่นต่อการเข้าร่วมมากกว่า เพราะว่ามันทำให้ผู้เข้าร่วมงานที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานได้เนื่องจากปัญหาด้านการเดินทาง ปัญหาด้านเวลา หรืออุปสรรคอื่นๆ สามารถมีส่วนร่วมผ่านช่องทางออนไลน์ อีกทั้งผู้เข้าร่วมงานยังสามารถรับชมอีเว้นท์นั้นๆ ซ้ำได้อีกในภายหลังจนกว่าผู้จัดงานอีเว้นท์นจะทำการนำข้อมูลดังกล่าวออกจากระบบ นอกจากนี้ Virtual event ยังทำให้ผู้ชมสามารถรับชมและสัมผัสกับกิจกรรมได้อย่างใกล้ชิดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะในงานที่จัดขึ้นในสถานที่จริงบางครั้งอาจมีผู้คนหนาแน่นทำให้ลำบากในการเข้าร่วมและไม่สามารถได้ทำกิจกรรมตามที่ต้องการ อีกหนึ่งประโยชน์ของ Virtual event คือ การมีส่วนร่วมแบบเรียลไทม์สำหรับผู้เข้าร่วมทุกคนผ่านการสื่อสารแบบแชทสด (Live Chat) ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบกันกับผู้รับชมคนอื่นๆ อย่างไรก็ตามการจัด Virtual event ก็มีข้อด้อยที่จำเป็นต้องพิจารณาอยู่เช่นกัน ได้แก่ การขาดการสื่อสารแบบตัวต่อตัว และสิ่งรบกวนที่ดึงความสนใจออกจากงานอีเว้นท์ จากการสัมภาษณ์ Aucobo บริษัทที่เข้าร่วมในงาน Virtual event ของ NEXCON

ข้อเสียที่ใหญ่ที่สุดของ Virtual event คือ ผู้เข้าร่วมจำนวนมากมักทำอะไรหลายๆ สิ่งไปพร้อมกับการเข้าชมอีเว้นท์ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมเหล่านี้ไม่ได้ให้ความสนใจอย่างละเอียด ซึ่งแตกต่างจากการเข้าร่วมงานอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นจริงที่ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจกับงานอีเว้นท์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ Aucobo ยังกล่าวอีกว่าบริษัทยังชื่นชอบการจัดงานแบบพบปะต่อหน้า เพราะว่าสามารถพูดคุยใกล้ชิดกับลูกค้าได้มากกว่า ดังนั้นการจัดงานอีเว้นท์บนพื้นที่จริงยังคงมีความต้องการอยู่เสมอ แต่การผสมผสานระหว่าง Virtual event กับอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นบนโลกจริง จะช่วยชดเชยข้อเสียเปรียบของแต่ละแบบและทำให้เกิดอีเว้นท์ที่เหมาะสมให้แก่ทุกคน

รูปแบบของเวอร์ชวลอีเว็นต์ในลักษณะต่างๆ

Virtual event ถูกพัฒนามาจากรูปแบบไลฟ์สตรีมที่เรียบง่ายสู่รูปแบบการสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ ซึ่งนักวางแผนอีเว้นท์สามารถสร้างผลตอบรับที่ดีจากการใช้ประโยชน์ Virtual event ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

การไลฟ์สตรีม (Live streaming) หมายถึงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถบันทึกและถ่ายทอดออกอากาศพร้อนกันแบบเรียลไทม์ ปัจจุบันการไลฟ์สตรีมมีสัดส่วนเป็นจำนวนมากถึงกว่าสองในสามของปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดและคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 82 ภายในปี 2563 ซึ่งในอุตสาหกรรมไมซ์ก็มีการใช้งานไลฟ์สตรีมด้วยเช่นกัน เนื่องจากเนื้อหาแบบไลฟ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับสอง คือ การพูดบรรยาย การประชุม งานคอนเสิร์ตและเทศกาลต่างๆ โดยมีสัดส่วนการรับชมอยู่ที่ร้อยละ 43 ของไลฟ์คอนเทนท์ทั้งหมด จากข้อมูลของ Livestream ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการไลฟ์สตรีม ในปัจจุบันมีงานอีเว้นท์ที่มีขื่อเสียงหลายงานได้ใช้ประโยชน์จากไลฟ์สตรีม ตัวอย่างเช่น South by Southwest (SXSW) เป็นการประชุมประจำปีเพื่อเฉลิมฉลองวงการเทคโนโลยี ธุรกิจ เพลงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจัดที่เมือง Austin รัฐ Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา อีเว้นท์ดังกล่าวได้ใช้ประโยชน์จากการไลฟ์สตรีมด้วย 2 วิธีที่แตกต่างกัน วิธีแรก คือ ทางงานได้เชื่อมโยงสถานที่จัดงานทั้ง 4 แห่งที่ตั้งอยู่ต่างที่กันในใจกลางเมืองผ่านการไลฟ์สตรีม เพื่อทำให้ผู้คนที่อยู่ในแต่ละสถานที่รับรู้ถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานที่ของงานอีเว้นท์ วิธีที่สอง คือ ทาง SXSW ได้ถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง YouTube เพื่อให้ผู้คนทีไม่สามารถเดินทางมาได้ สามารถรับชมงานกิจกรรมต่างๆ ได้ตลอดทั้งงานอีเว้นท์ ซึ่งช่องทาง YouTube นี้มีสมาชิกกว่า 200,000 คน อีกทั้งทางผู้จัดงานยังได้อัปโหลดวิดีโอกิจกรรมไว้ให้ผู้ชมสามารถดูย้อนหลัง ซึ่งมีผู้รับชมวิดีโอทั้งหมดแล้วกว่า 3.7 ล้านครั้ง

เว็บบินาร์ (Webinar) เป็นคำที่เอาไว้เรียก “web-based seminar” แบบสั้น ๆ หรือสามารถแปลได้ว่า “การสัมนนาผ่านเว็บไซต์” ซึ่งสามารถใช้ในการรนำเสนอ (presentation) การบรรยาย (lecture) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) หรือการสัมมนา (seminar) โดยใช้แพลตฟอร์มซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยการบริหารการประชุมผ่านวิดีโอและส่งข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก Webinar มีลักษณะเด่นหลายประการที่เหมาะแก่งานประชุมที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์หรือความร่วมมือกัน อย่างเช่น การสื่อสารแบบเรียลไทม์ การแชร์ไฟล์วิดีโอ และ การแชร์หน้าจอร่วมกัน เป็นต้น

 

Webinar สามารถใช้ได้กับงานสัมมนาขนาดเล็ก ไปจนถึงงานที่มีกลุ่มคนขนาดหลายร้อยคน ตัวอย่างเช่น Schneider Electric บริษัทข้ามชาติที่เชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงาน มีสาขาอยู่ทั่วโลกมากกว่า 100 ประเทศ บริษัทตระหนักว่าลูกค้าหลายคนไม่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมงานอีเว้นท์ของบริษัทได้ ทำให้ทางบริษัทมีความยากลำบากในการพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า ดังนั้น Schneider Electric จึงได้ขยายช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้าผ่านการใช้งาน Webinar ซึ่งสามารถรวบรวมผู้คนจากหลายๆ ที่ทั้่วโลก ให้พบปะกันผ่านที่ประชุมออนไลน์ ผลจากการใช้ Webinar ทำให้บริษัทสามารถทำให้ลูกค้าเข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นถึง 300 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด และสามารถทำรายได้ให้กับบริษัทเพิ่มขึ้น 5 แสนเหรียญสหรัฐในการจัด Webinar เพียงครั้งเดียว

อีเว้นท์สภาพแวดล้อมเสมือนจริง (Virtual environment event) เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมทั้งหมดเพื่อให้มีความคล้ายคลึงกับสถานที่จริง ซึ่งงานอีเว้นท์ประเภทนี้ถูกสร้างขึ้นจากการผสมเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ไลฟ์แชท (Live chat) เว็บบินาร์ (Webinar) วีดีโอสตรีมมิ่ง (Video streaming) และการสร้างภาพกราฟฟิกแทนตัวเอง (Avatar graphics) เข้าด้วยกัน ทำให้งานอีเว้นท์ประเภทนี้สามารถมีประสิทธิภาพที่คล้ายคลึงกับอีเว้นท์ในโลกจริง ซึ่งงานอีเว้นท์ที่นิยมในการจัดงานรูปแบบนี้ ได้แก่ งานแสดงสินค้า ตลาดหางาน และงานประชุมวิชาการ มีตัวอย่างบริษัทที่จัดงานประเภทนี้ คือ BambooHR บริษัทผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นผู้จัดงานประชุมเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในแบบเสมือนจริงที่ใหญ่ที่สุดในโลก งานอีเว้นท์นี้มีผู้ลงทะเบียนกว่า 20,000 ราย และมีกิจกรรมมากถึง 60 อย่างให้เข้าร่วม ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถใช้ภาพกราฟฟิกแทนตัวเองในการสำรวจพื้นที่ต่างๆ ของงานอีเว้นท์ เช่น Theater ที่มีแขกรรับเชิญมาเป็นผู้บรรยายพร้อมกับการตอบคำถามต่างๆ หรือ Expo Hall เป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงบูธ (Booth) หรือ Resource Center ที่เป็นศูนย์กลางให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถดาวน์โหลดเอกสารออนไลน์ต่างๆ ได้ ส่งผลให้งานอีเว้นท์นี้มีผู้เข้าร่วมงานอยู่ที่ 10,000 คน มียอดดูเนื้อหาต่างๆในงานกว่า 150,000 ครั้ง และมีผู้เยี่ยมชม Booth ถึง 20,000 ครั้ง

แนวทางเพื่อการจัดงาน Virtual event ให้มีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ควรพิจารณาสำหรับการจัดงาน

แม้ว่าการจัด Virtual event จะมีความยุ่งยากและขั้นตอนในการเตรียมการที่น้อยกว่าการจัดงานหลักตามปกติ แต่ก็มีหลายๆ ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกิดงานที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด

ประการแรก ข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมงานแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการวางแผนกิจกรรมทุกประเภท แต่ว่าการจัดงานแบบ Virtual event ทางผู้จัดงานจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องความแตกต่างของเวลาในแต่ละภูมิภาค และแพลตฟอร์มการจัดงานที่เป็นที่นิยมและเข้าถึงได้ของกลุ่มเป้าหมาย

ประการที่สอง ควรมีอุปกรณ์ต่างๆ และประสิทธิภาพอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการถ่ายทอดเสียงและวิดีโอในแบบคุณภาพสูง เนื่องจากวิดีโอเหล่านี้เป็นสิ่งหลักที่ผู้เข้าร่วมงาน Virtual event จะได้สัมผัสตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ

ประการที่สาม ควรมีทีมงานผู้ผลิตที่ชำนาญในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) Producer ที่สามารถควบคุมความต่อเนื่องของงานอีเว้นท์โดยรวม และมีความเข้าใจวิธีการสร้างอีเว้นท์ให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์และสามารถโต้ตอบกับผู้ชมได้อย่างเป็นกันเอง 2) บุคลากรด้านเทคโนโลยี ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ และมีความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับเหตุฉุกเฉินทางเทคนิคที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จัดงานอีเว้นท์ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วที่สุด และ 3) Operators ผู้มีความรู้วิธีการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล้อง และสามารถตัดสินใจเลือกมุมหรือจุดที่จะถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นในงานหลัก เพื่อให้ผู้ที่เข้าชมงานอยู่ในโลกเสมือนจริงได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด

ประการสุดท้าย คือ การเลือกแพลตฟอร์มให้เหมาะสมกับประเภทของงานอีเว้นท์ที่จะจัดขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหาและไม่ติดขัด นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึงความนิยมของตัวแพลตฟอร์มอีกด้วย เพื่อเพิ่มการเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพของกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมงาน

ประการสุดท้าย คือ การเลือกแพลตฟอร์มให้เหมาะสมกับประเภทของงานอีเว้นท์ที่จะจัดขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหาและไม่ติดขัด นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึงความนิยมของตัวแพลตฟอร์มอีกด้วย เพื่อเพิ่มการเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพของกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมงาน

ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการจัด Virtual event

การจัดงานในอีเว้นท์ทุกรูปแบบจำเป็นจะต้องพิจารณาประเด็นพื้นฐานต่างๆ รวมถึง Virtual event ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามประเด็นเหล่านี้จะมีความแตกต่างสำหรับการจัดงานแบบ Virtual event

สิ่งดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมงานสามารถสร้างได้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรูปแบบของ Virtual event หากเป็นการไลฟ์สตรีมทั่วๆ ไป จุดดึงดูดของงานจะขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของสถานที่จริง และการทำโฆษณาต่างๆ ที่จะช่วยดึงจุดเด่นของไลฟ์สตรีมขึ้นมา ในทางกลับกันหากเป็นอีเว้นท์สภาพแวดล้อมเสมือนจริง หน้าตาของตัวแพลตฟอร์มจะต้องได้รับการออกแบบให้มีเสน่ห์พอที่จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมงานได้ อย่างไรก็ตามคุณภาพของเนื้อหาในงานก็ยังคงเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจหลักๆ ที่จะทำให้ผู้คนอยากเข้ามาร่วมงานตั้งแต่แรกในอีเว้นท์ทุกๆ รูปแบบ

การส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมงานเป็นสิ่งที่อาจทำได้ยากกว่าในงานแบบ Virtual event เพราะว่าเป็นงานที่ไม่ใช่การสื่อสารแบบพบปะต่อหน้า แต่ก็สามารถทำได้ด้วยการใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับบริบทของงาน อย่างเช่น การใช้แชทกลุ่มสำหรับไลฟ์สตรีมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถแสดงความรู้สึกให้แก่คนหลายๆ คนได้รับรู้ หรือการใช้ Video call สำหรับ Webinar เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถเห็นหน้าและการนำเสนอของผู้พูด

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปรับปรุงงานอีเว้นท์ในอนาคต สำหรับ Virtual event แล้ว ข้อมูลสามารถถูกเก็บรวบรวมได้ง่ายกว่างานอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นในโลกจริง เพราะว่าการกระทำทุกๆ อย่างในโลกออนไลน์ส่วนมากสามารถถูกจัดเก็บบันทึกได้ในแบบอัตโนมัติ ดังนั้นผู้จัดงานจึงควรที่จะคอยเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ไว้ เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงการจัดงานในครั้งต่อไป ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีความแม่นยำมากกว่าการรวบรวมข้อมูลแบบอื่นๆ อีกด้วย

(Source : TCEB)