ก้าวเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยี e-Tax Invoice และ Receipt
- ธันวาคม 10, 2019
- Posted by: Parwinee Piyapongpaisarn
- Category: Articles-TH
ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็น 1 ใน 5 โครงการของแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ที่พัฒนามาจากการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่รองรับ การจัดทำและการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่กรมสรรพากรกำลังดำเนินการเสนอตามลำดับ ขั้นตอน โดยมุ่งหวังที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เมื่อต้องมีการถ่ายโอนข้อมูล ตลอดจนกำหนดนโยบายการกำกับดูแลการใช้งานข้อมูล เพื่อป้องกันการนำข้อมูลไปใช้โดยมิชอบ
สำหรับคำจำกัดความของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) อธิบายได้ดังนี้
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หมายถึง ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ ที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) หมายถึง ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานแสดงการรับชำระเงิน ที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
โดยผู้ประกอบการแค่เตรียมความพร้อมในด้าน อุปกรณ์ (Hardware) และระบบสื่อสาร (Internet) เพื่อการจัดทำ ใบกำ กับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีช่องทางการจัดทำ ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความพร้อมและขีดความสามารถทาง เทคโนโลยีและขนาดของกิจการ ที่มีด้วยกัน 4 ช่องทาง ได้แก่
- การถ่ายโอนข้อมูลแบบ Host to Host เป็น ช่องทางการนำส่งข้อมูลสำ หรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และขนาดกลางที่มีข้อมูลจำนวนมาก โดยผู้ประกอบการ สามารถเชื่อมต่อกับกรมสรรพากรโดยตรงและนำส่งข้อมูล ให้แก่กรมสรรพากรตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด
-
การถ่ายโอนข้อมูลผ่าน Service Provider เป็น ช่องทางการนำส่งข้อมูลสำ หรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และขนาดกลางที่มีข้อมูลจำนวนไม่มาก โดยผู้ประกอบการ สามารถใช้บริการของ Service Provider ซึ่งจะให้บริการ จัดทำ ข้อมูลของผู้ประกอบการให้อยู่ในรูปแบบที่ กรมสรรพากรกำหนดและนำ ส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่ กรมสรรพากร
- การถ่ายโอนข้อมูลโดยการ Upload เป็น ช่องทางการนำส่งข้อมูลสำ หรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดยผู้ประกอบการสามารถ Upload ข้อมูลเข้าระบบของ กรมสรรพากรโดยผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
- การจัดส่งข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร เป็นช่องทางการนำ ส่งข้อมูลสำ หรับผู้ประกอบการ ขนาดเล็ก โดยผู้ประกอบการสามารถจัดทำ ใบกำกับภาษี และใบรับบน Web Portal ของกรมสรรพากรและนำส่ง ใบกำกับภาษีและใบรับดังกล่าวให้แก่ลูกค้า สำ หรับผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อมจัดทำและนำส่ง e-Tax Invoice และ e-Receipt ผ่าน 4 ช่องทางข้างต้น สามารถส่งใบกำกับภาษีผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลาง (Simple Centrally Signed Email) ซึ่งเป็นความ ร่วมมือระหว่างกรมสรรพากรกับสำ นักงานรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) และสำ นักงาน พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ให้ผู้ซื้อ และผู้ขายสามารถจัดส่งใบกำ กับภาษีทาง e-mail ในรูปแบบข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย
ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ
-
ผู้ประกอบการจัดทำ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอน ที่ลดลง โดยขั้นตอนการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะมีการลงลายมือชื่อเดียว ซึ่งผู้ประกอบการไม่ต้อง เสียค่าบริการในการใช้บริการลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ให้บริการมีหน้าที่สร้างข้อมูลการประทับรับรอง เวลาอิเล็กทรอนิกส์ (Time-stamp Authority) บนไฟล์ ใบกำกับภาษีเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
-
ผู้ประกอบการจะมีภาระลดลงในการจัดเตรียม เอกสารเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เมื่อกรมสรรพากร ได้รับข้อมูลภาษีซื้อ ภาษีขายทางอิเล็กทรอนิกส์ครบถ้วน แล้ว ระบบของกรมสรรพากรจะสามารถจัดทำ รายงาน ภาษีซื้อ รายงานภาษีขายได้โดยอัตโนมัติ (Electronic VAT Report) ซึ่งผู้ประกอบการสามารถจัดเก็บเอกสาร ได้สะดวกยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังเพิ่มเติมระบบการนำส่งรายงานการทำ ธุรกรรมทางการเงินและระบบการนำส่งภาษี เมื่อมีการ ชำระเงินผ่าน e-Payment เมื่อผู้ประกอบการมีการชำระ เงินผ่าน e-Payment ธนาคารจะทำ หน้าที่เป็นตัวแทน ในการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี) ให้แก่กรมสรรพากร รวมทั้งแจ้งการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ผู้ถูกหักภาษีทราบ พร้อมนำ ส่งข้อมูลจำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ กรมสรรพากร ซึ่งจะทำ ให้ผู้ประกอบการไม่ต้องออก หลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งภาษี และยื่นแบบ แสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอีก ในการจัดทำ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับ อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะเริ่มทดลองระบบได้ช่วงประมาณ เดือนมกราคม 2560 โดยจะให้ผู้ประกอบการแต่ละขนาด เข้าใช้ระบบทุกราย เริ่มจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และขนาดกลางเป็นลำดับแรก สำ หรับผู้ประกอบการ ขนาดเล็กจะให้เข้าใช้ระบบทุกรายเป็นลำดับถัดไป
ข้อมูลอ้างอิง :
สนใจในระบบ Sundae eTax Invoice & Receipt สามารถติดต่อเราได้ที่
บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด โทร 026348899 อีเมล์ sales@sundae.co.th